Working Life | เปลี่ยนงานบ่อยเพราะ?

“เด็กรุ่นใหม่ๆนี่ความอดทนต่ำเนอะ”

“แปปๆก็ลาออก แปปๆก็ลาออก ไม่ทนเลย”

“ทำไมต้องการอะไรเยอะแยะ คนเราก็ควรจะขยันทำงาน ค่อยๆใต่ตำแหน่งไปสิ เดี๋ยวก็โตเอง”

“ลำบากวันนี้ สบายวันหน้าไม่เคยได้ยินหรอ”

“เปลี่ยนงานบ่อยเดี๋ยวประวัติเสียนะ”

เป็นอะไรที่จะได้ยินจากผู้ใหญ่เสมอ เวลาเราลาออกจากงาน

ในระยะเวลา 2 ปี 8 เดือนที่ผ่านมา เราย้ายที่ทำงานไป 4 ครั้ง ระยะเวลาทำงานที่สั้นสุดคือ 2.5 เดือน ระยะเวลาทำงานที่นานที่สุดคือ 10 เดือน

โดยที่ต้นตอทั้งหมดของการลาออกมากจากการ “เสียสุขภาพจิต” ในส่วนปัจจัยของการเดินทาง เงินเดือน และอื่นๆอาจมีอยู่บ้าง แต่หลักๆแล้วเป็นทางด้าน Mental Health สะมากกว่า

ซึ่งตั้งแต่เริ่มทำงาน เวลาเรามีปัญหากับตัวเองในด้านการนึกคิด ความรู้สึก สภาพจิตใจโดยรวม เราก็มักจะปัดและบอกตัวเองว่าคิดไปเองน่า ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวก็หาย เดี๋ยวก็เป็นปรกติ เหมือนที่บอกกับตัวเองมาทั้งชีวิต แต่ตอนนั้นไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างในการใช้ชีวิตในวัยเรียน ที่ไม่ต้องห่วงอะไรนอกจากการเรียนให้จบ กับการใช้ชีวิตในวัยทำงาน ที่ต้องทำผลงาน ทำเงิน อยู่ร่วมกับคนอื่น เพื่อให้มีชีวิตรอดในวันถัดๆไป

เรามักจะลาออกจากงานๆนึงเพราะเรารู้สึกว่ามันไม่เวิร์ค อธิบายได้ไม่ชัดเจนว่าอะไรไม่เวิร์ค แต่คือมันไม่เวิร์ค รู้ตัวว่ามันไม่ได้ และเราทนกับสภาพของตัวเองไม่ไหวแล้ว อึดอัด เกลียดมันมาก อยากหลุดพ้น เลยลาออก

ทีนี้มันไปพีคตอนประมานช่วงเดือนพฤษภาคมปี 61 กับงานนึงที่จู่ๆทุกอย่างก็เริ่มไปในทางขาลง แม้ว่าจะหาทางรักษาและประคับประคองตัวเองด้วยการติ่งหนักมาก ถึงขั้นบินไปต่างประเทศทุกๆ 2 เดือน ไปคอนเกือบทุกเดือน หรือไปเที่ยวทุกเดือน แต่มันฟื้นฟูเราได้แค่ระยะสั้นๆเท่านั้น เราดิ่งลงไปเรื่อยๆจนกระทั่ง performance ในการทำงานตก เข้าสู่สภาวะ burn out โดยสมบูรณ์ตอนประมานเดือนพฤศจิกายน

ตอนนั้นเท่าที่ได้รับคำปรึกษาและคุยกับคนอีกเยอะแยะ ก็ได้ข้อสรุปว่าเราควรลาออกจากงาน(อีกแล้ว) จริงๆควรลาออกตั้งนานแล้ว แต่เราบอกปัดว่าไม่เป็นไรๆและทนมาตลอด ไม่อยากลาออกง่ายๆเพราะความไม่อดทนต่อความอึดอัดของตัวเองอีกแล้ว แต่จริงๆแล้วน่ะ มันเป็น! มันเป็นปัญหานะนังเบล มันมีต้นตอของปัญหาอยู่ มันมีเหตุผล และแกก็ไม่ผิดเว่ย นังง่าว T-T

เอนี่เว ก็ยังไม่ยอมลาออกทันที เพราะคำว่า “ความรับผิดชอบ” มันค้ำคอ ไม่มีใครเอามาค้ำนะ เราค้ำตัวเองนี่แหละ คือจริงๆเราอ่ะ ถ้าเกิดอยากจะเทอะไร ก็เททิ้งได้เลยแบบไร้เยื่อใย ปล่อยแล้วหนีไปเลย เพราะงานก่อนๆก็แอบทำตัวแบบนั้น แต่จุดๆนั้นเรารู้สึกว่าเรามั่นหน้าอยากทำโปรเจ็กต์ๆนึงที่ใหญ่ไว้เอง อย่างน้อยเราก็ควรทำให้มันจบ หรือเคลียร์ให้ถึงจุดที่คนอื่นเอาไปทำต่อได้ เราเลยยื่นแจ้งหัวหน้าไปว่าเราจะทำต่ออีกสองเดือน และจะออกตอนสิ้นเดือนมกราคม 62 นะ ตอนนั้นโปรเจ็กต์นี้น่าจะจบแล้วพอดี

โค้งสองเดือนสุดท้ายเป็นอะไรที่ทำให้เราค้นพบความจริงแบบชัดๆกับตัวเอง ตอนนั้น ถ้าเข้าออฟฟิศคือเราทำงานไม่ได้เลย ไม่มีสมาธิ ตั้งสติไม่ได้ เราเลยขอทำงานจากบ้านเกือบตลอด เพื่อให้งานมันรันไปได้ให้จบทันเวลา และเพราะงานเราไม่ต้องเจอใครอยู่แล้ว ทำออนไลน์ เราเลยทำได้

และสรุปว่าเราผ่านสองเดือนสุดท้ายมาได้ด้วยการไม่เข้าออฟฟิศ เน้นทำงานอยู่บ้าน หรือข้างนอก

โอ้โห พูดเลย… ชีวิตเป็นปรกติเหมือนสุขภาพที่เสียไปทั้งหมดก่อนหน้านี้ไม่เคยเกิดขึ้น

เชื่อแล้วว่าสภาพแวดล้อมและสังคมในการทำงาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจ

พอโปรเจ็กต์จบ ลาออก เรากลับมาเป็นเบลคนเดิม ที่ทำอะไรโง่ๆง่ายๆก็มีความสุขได้ สนุกไปวันๆได้ หาอะไรทำได้ตลอดเวลา ไม่เหนื่อย ไม่นอนเยอะ ไม่เครียด ไม่อะไรเลย พบปะคนได้ ไม่กลัวการเข้าสังคม ไม่เบิร์นพลังจากเจอคนหลากหน้าหลากตา โคตรเหมือนคนปรกติ เผลอๆมีพลังเหลือด้วยซ้ำไป

พอมองย้อนกลับไปถึงตอนลาออกจากงานก่อนๆ เราก็พบว่าความอึดอัดที่เรามีในตอนนั้นๆที่ตัดสินใจอยากออก แก่นแท้มันก็มาจากสภาพแวดล้อมจากการทำงานทั้งนั้นเลย ทั้งในที่ทำงาน หรือกับลูกค้า พาร์ทเนอร์ แตกต่างออกไปตามงาน แต่ใดๆแล้ว มันก็คือ working environment ทั้งนั้น

ระหว่างการทำงานของเรา เราก็พบเจอคนที่เข้าและลาออกจากงานเยอะเหมือนกัน ซึ่งหลังจากที่เราค้นพบว่าตัวเองเป็นอะไรแล้ว กลับไปพูดคุยกับพวกเค้า ก็ค้นพบว่าคนประมานครึ่งนึง มีเหตุผลเดียวกับเราในการลาออก เพราะอึดอัด เข้ากับคนที่ทำงานไม่ได้ เข้ากับงานไม่ได้ ไม่ชอบดีลงานกับลูกค้าประเภทนั้นๆ หรืออะไรใกล้เคียงที่มีผลต่อ สุขภาพจิต (mental health)

กลายเป็นว่าคนรุ่นเรา หรือมนุษย์ Gen Y เหมือจะมีคนอยู่ 2 ประเภท คือ 1) พวกที่เป้าหมายมีไว้ให้พุ่งชน อะไรก็รบกวนไม่ได้ หากยังไม่บรรลุเป้าหมาย และ 2) พวกที่อยากมีความสุขในการทำงาน ในการใช้ชีวิตไปวันๆ ค่อยๆเดินตามทางที่เป็นที่พอใจของตัวเอง

ซึ่งเราเป็นคนประเภทที่ 2 เพราะเรา value ความสุขของตัวเองมาอันดับ 1 ในชีวิต ไม่ว่าจะอยากบรรลุเป้าหมายอะไรก็ตาม แต่ความสบายใจของตัวเองต้องมาก่อน แล้วถึงจะบรรลุเป้าหมายนั้นๆได้

วันนี้พอมองย้อนกลับไป เรารู้สึกผิดต่อทุกๆคนและทุกๆงานนะ ที่เราเข้าไปและออกมา เหมือนเราอยากเข้าไปเป็นกำลังช่วยเหลือเอง แต่สุดท้ายเรากลับทำมันพัง แล้วก็เทเพราะตัวเองอีก

แต่อีกส่วนนึง ก็รู้สึกว่ามันก็ไม่ได้แย่ไปสะทั้งหมด เราอาจเสียสุขภาพไปและอาจเสียเวลาไปหน่อย แต่ทำให้เราได้เรียนรู้งานหลากหลายประเภท หลายวงการ เจอคนเยอะมาก และได้รู้จักกับตัวเองมากขึ้น โฟกัสได้ดีขึ้น และรู้ลิมิตตัวเอง

อยากบอกผู้ใหญ่ให้เข้าใจเหมือนกันว่า ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปมากแล้ว เด็กรุ่นใหม่โตมาในสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป และในยุคนี้ที่สงครามประสาทกับการเมืองมีมากกว่าสงครามจริงๆเนี่ย มันไม่สามารถทำให้เด็กรุ่นใหม่ยึดติดทำงานอยู่ในที่ๆนึงได้ด้วยแค่คำว่า “ชีวิตการทำงานฐานะมั่นคง” อีกต่อไปแล้ว

มันเริ่มมีทางเลือกที่หลากหลาย มีงานหลายรูปแบบที่ทำเงินได้ ที่ทำให้ชีวิตคนเรามั่นคงได้ เราไม่มีกรอบเหมือนสมัยรุ่นพ่อรุ่นแม่ที่จะต้องอยู่อีกแล้ว

เพราะฉะนั้นเหตุผลที่คนรุ่นใหม่ลาออกจากงานบ่อยๆ มันไม่ใช่เพราะเราไม่ทนงานนะคะ แต่มันอาจมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตให้รอดต่างหาก (นอกจากสุขภาพแล้วก็มีฐานเงินเดือนที่ต่ำกับค่าครองชีพที่สูงด้วยน่ะค่ะ เข้าใจป้ะคะ!?)

เราว่าในการทำงานสมัยใหม่ Work – Life Balance สำคัญจริงเด้อ จะมา work work work work work til I die มันมะด้ายแน้วววววว

ก็ขอให้ทุกคนค้นพบความสุขใน Working Life ของตัวเองนะค้าาาาาา

– บีบีไงจะใครล่ะ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s